วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แบ่งจากการศึกษาความเร็วของคลื่นไหวสะเทือน

ในการแบ่งวิธีนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้การคลื่นไหวสะเทือนที่ผ่านโลก คลื่นที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ

คลื่นปฐมภูมิ (P wave) เป็นคลื่นตามยาวที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลาง โดยอนุภาคของตัวกลางนั้นเกิดการเคลื่อนไหวแบบอัดขยายในแนวเดียวกับที่คลื่นส่งผ่านไป คลื่นนี้สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ เป็นคลื่นที่สถานีวัดแรงสั่นสะเทือนสามารถรับได้ก่อนชนิดอื่น โดยมีความเร็วประมาณ 6 – 8 กิโลเมตร/วินาที คลื่นปฐมภูมิทำให้เกิดการอัดหรือขยายตัวของชั้นหิน

คลื่นทุติยภูมิ (S wave) เป็นคลื่นตามขวางที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลางโดยอนุภาคของตัวกลางเคลื่อนไหวตั้งฉากกับทิศทางที่คลื่นผ่าน มีทั้งแนวตั้งและแนวนอน คลื่นชนิดนี้ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น ไม่สามารถเดินทางผ่านของเหลว คลื่นทุติยภูมิมีความเร็วประมาณ 3 – 4 กิโลเมตร/วินาที คลื่นทุติยภูมิทำให้ชั้นหินเกิดการคดโค้ง
จากการศึกษาคลื่นข้างต้นทำให้เราสามารถศึกษาและแบ่งโครงสร้างโลกออกเป็นชั้น 5 ชั้นได้แก่

ธรณีภาค (ศึกษาเพิ่มเติม)

ฐานธรณีภาค  (ศึกษาเพิ่มเติม)

มีโซเฟียร์ (ศึกษาเพิ่มเติม)

แก่นโลกชั้นนอก (ศึกษาเพิ่มเติม)

แก่นโลกชั้นใน (ศึกษาเพิ่มเติม)

การแบ่งโครงสร้างโลก

การแบ่งโครงสร้างของโลกมีอยู่หลายวิธี แต่นักวิทยาศาสตร์นิยมใช้มีอยู่ 2 ประเภทที่สำคัญคือ

แบ่งจากการศึกษาความเร็วของคลื่นไหวสะเทือน

แบ่งจากการศึกษาส่วนประกอบทางเคมี