นักดาราศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย
ได้ค้นพบซูเปอร์โนวาชนิดใหม่
ที่มีความสว่างกว่าซูเปอร์โนวาทั่วไปถึง
10
เท่า
ย้อนหลังไปเมื่อปี
2550
รอเบิร์ต
ควิมบี
จากมหาวิทยาลัยเทกซัส
ณ
ออสติน
ได้ค้นพบซูเปอร์โนวาดวงหนึ่ง
มีความส่องสว่างกว่าดวงอาทิตย์ถึงหนึ่งแสนล้านเท่า
และส่องสว่างกว่าซูเปอร์โนวาทั่วไป
10
เท่า
ต่อมาได้ชื่อว่า
2005
เอพี
(2005AP)
ไม่เพียงแต่ความสว่างที่ผิดปกติแล้ว
เมื่อศึกษาสเปกตรัมของซูเปอร์ โนวานี้ยังพบความน่าพิศวงยิ่งกว่า
เพราะไม่ปรากฏว่ามีร่องรอยของไฮโดรเจนอยู่เลย
ทั้งที่ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่ปกติมีอยู่มากมายในซูเปอร์โนวาเกือบทั้งหมด
ในเวลาใกล้เคียงกัน
นักดาราศาสตร์อีกคณะหนึ่งได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
ค้นพบซูเปอร์โนวาอีกดวงหนึ่ง
ชื่อ
เอสซีพี
06
เอฟ
6
(SCP
06F6)
ซึ่งก็มีสเปกตรัมแปลกประหลาดเช่นเดียวกัน
ต่อมา
ควิมบีได้มาอยู่ในโครงการพีทีเอฟ
(PTF-Palomar
Transient
Factory)
ซึ่งเป็นโครงการค้นหาแสงสว่างวาบสั้นบนท้องฟ้า
ส่วนใหญ่ของแสงวาบนี้เป็นซูเปอร์โนวา
โครงการนี้ใช้กล้องแซมูเอลออสชิน
1.2
เมตรของหอดูดาวพาร์โลมาเป็นเครื่องมือในการสำรวจ
ที่นี่เขาได้พบซูเปอร์โนวาใหม่อีกสี่ดวง
หลังจากที่ศึกษาเพิ่มเติมโดยกล้องเคกขนาด
10
เมตร
กล้อง
5.1
เมตรของหอดูดาวพาร์โลมา
และกล้องวิลเลียมเฮอร์เชลขนาด
4.2
เมตรบนหมู่เกาะคะเนรี
ยืนยันว่า
ซูเปอร์โนวาทั้งสี่นี้มีสเปกตรัมไม่ธรรมดาทั้งสิ้น
และมีความคล้ายคลึงกับสเปกตรัมของ
2005
เอพีที่ค้นพบก่อนหน้านี้
สรุปได้ว่าซูเปอร์โนวาที่พบทั้งหกดวงนี้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
มีสีค่อนไปทางน้ำเงิน
ส่องสว่างที่สุดในย่านอัลตราไวโอเลต
ซูเปอร์โนวา
2005
เอพี
อยู่ห่างจากโลก
3
พันล้านปีแสง
ส่วนซูเปอร์โนวา
เอสซีพี
06
เอฟ
6
อยู่ห่าง
8
พันล้านปีแสง
ทั้งคู่อยู่ในดาราจักรแคระที่มีดาวฤกษ์ประมาณไม่กี่พันล้านดวงเท่านั้น
แม้นักดาราศาสตร์จะจัดกลุ่มซูเปอร์โนวากลุ่มนี้เป็นชนิดเดียวกันได้
แต่ก็ยังมีคำถามอีกหลายคำถามที่ตอบไม่ได้
เช่น
เหตุใดมันจึงร้อนถึง
10,000-20,000
เคลวิน
มันขยายตัวด้วยความเร็วถึง
10,000
กิโลเมตรต่อวินาทีได้อย่างไร
เหตุใดจึงไม่มีสเปกตรัมของไฮโดรเจน
และมันส่องสว่างมองเห็นได้นานถึง
50
วันซึ่งนานกว่าซูเปอร์โนวาส่วนใหญ่มากได้อย่างไร
ทฤษฎีหนึ่งอธิบายว่า
ซูเปอร์โนวานี้อาจเกิดจากดาวแปรแสงแบบกระเพื่อมที่มีมวลมาก
90-130
เท่าของดวงอาทิตย์
การกระเพื่อมของดาวได้ผลักเนื้อดาวชั้นนอกที่ปราศจากไฮโดรเจนออกมา
ต่อมาเมื่อดาวนั้นหมดเชื้อเพลิงและระเบิดออกเป็นซูเปอร์โนวา
การระเบิดได้เผาเนื้อดาวชั้นนอกที่ดาวผลักออกมาก่อนหน้านี้จนร้อนจัดและสว่างไสวอย่างที่สำรวจพบเห็น
อีกทฤษฎีหนึ่งอธิบายว่า
เกิดจากซูเปอร์โนวาที่หลังจากระเบิดไปแล้วเหลือแกนกลางที่ดาวแม่เหล็ก
(magnetar)
ซึ่งเป็นดาวที่หมุนรอบตัวเองเร็วมากและมีสนามแม่เหล็กเข้มข้นมาก
สนามแม่เหล็กที่หมุนรอบตัวดาวได้หน่วงให้ดาวแม่เหล็กหมุนช้าลงในขณะที่ทำอันตรกิริยากับอนุภาคปะจุไฟฟ้าโดยรอบพร้อมทั้งปล่อยพลังงานออกมา
พลังงานนี้ทำให้แก๊สจากเปลือกดาวที่ถูกเป่ากระเด็นออกมาจากซูเปอร์โนวาร้อนขึ้นมามากจนมีความสว่างมากตามที่ปรากฏ
นักดาราศาสตร์หวังว่า การศึกษาซูเปอร์โนวาพวกนี้ยังช่วยให้เข้าใจสภาพของดาวฤกษ์ในยุคเริ่มต้นของเอกภพอีกด้วย เนื่องจากมันเป็นซูเปอร์โนวาที่เกิดจากดาวฤกษ์ที่มีมวลสูงมาก ซึ่งนักดาราศาสตร์เชื่อว่าเป็นลักษณะของดาวฤกษ์ดวงแรก ๆ ในเอกภพ
ที่มา รายงานโดย
วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)