วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ส่งเรือน้อยลอยทะเลไททัน

     นักวิทยาศาสตร์เคยส่งยานอวกาศไปสำรวจดาวเคราะห์และดวงจันทร์ของดาวเคราะห์มามากหมายหลายดวงด้วยภารกิจหลากรูปแบบ ไม่ว่าเป็นวิธีโคจรรอบ พุ่งเฉียด ลงจอด พุ่งชน ยิงลูกตุ้มเข้าใส่ ส่งหัววัดกางร่มชูชีพลงไป ส่งรถลงไปวิ่ง คราวนี้ลองส่งเรือไปแล่นบ้างเป็นไร

ดาวแปลกพวกสีน้ำเงินในใจกลางทางช้างเผือก

     นักวิทยาศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลค้นพบดาวแปลกพวกสีน้ำเงินอยู่บริเวณใจกลางดาราจักรทางช้างเผือกเป็นครั้งแรก

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Secondary waves

    
     A type of seismic wave, the S-wave, secondary wave, or shear wave (sometimes called an elastic S-wave) is one of the two main types of elastic body waves, so named because they move through the body of an object, unlike surface waves.

Primary Waves

       
     P-waves are type of elastic wave, also called seismic waves, that can travel through gases (as sound waves), solids and liquids, including the Earth. P-waves are produced by earthquakes and recorded by seismographs. The name P-wave stands either for primary wave, as it has the highest velocity and is therefore the first to be recorded, or pressure wave, as it is formed from alternating compressions and rarefactions.

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ชื่อกลุ่มดาวไทย ฉบับพจนานุกรมของสมาคมดาราศาสตร์ไทย

     ไม่มีใครในแวดวงดาราศาสตร์ไม่รู้จักกลุ่มดาว นักดูดาวก็เริ่มต้นด้วยการดูกลุ่มดาว นักดูดาวมือฉมังก็ต้องรู้จักกลุ่มดาวเพื่อใช้ในการบอกตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้าอย่างคร่าว ๆ นักดาราศาสตร์ก็ใช้กลุ่มดาวซึ่งมีการกำหนดขอบเขตอย่างชัดเจนในการอ้างอิงถึงพื้นที่บนผืนฟ้า

เรื่องจริงของพายุสุริยะ


     แทบทุกครั้งที่เวลาผ่านมาถึงช่วงที่มีวันที่หรือเลขปีสวย ๆ ดูเหมือนจะต้องเกิดกระแส "โลกแตก" ขึ้นเสมอ ๆ ในช่วงใกล้ปี พ.ศ. 2543 หรือ ค.ศ. 2000 อย่างในตอนนี้ก็เช่นกัน มีข่าวลือสารพัดว่าในปี 2000 จะเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ นานา ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมโลก โลกแตกตามคำทำนายของโหรชื่อดัง วาระสุดท้ายของโลกตามคำภีร์ แกรนครอส แกรนคอนจังก์ชัน ปัญหา Y2K ฯลฯ ข่าวที่ลือกันนี้ บางเรื่องก็มีส่วนจริงและชวนคิด และอีกหลายเรื่องก็เพ้อเจ้อถึงขั้นไร้สาระเลยทีเดียว

เมื่อใดที่ดวงอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะในประเทศไทย


     ฤดูร้อนของประเทศไทยอยู่ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม หลายคนอาจเข้าใจว่าประเทศไทยมีอากาศร้อนมากที่สุดในช่วงเดือนเมษายนเพราะดวงอาทิตย์ใกล้โลกที่สุด นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิดถนัด แท้จริงแล้วสาเหตุมาจากการที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านใกล้จุดเหนือศีรษะในเวลาเที่ยงวัน โดยทำมุมตั้งฉากกับพื้นดิน จึงได้รับรังสีความร้อนจากแสงอาทิตย์เต็มที่

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หมวดโลกแตก 2012


   หมวดคำถามโลกแตกจริงๆนะเธอ ก็สารพันธ์ร้อยแปดคำถามเกี่ยวโลกแตกนี้ละ เกิดคำถามกันมากมายจนเว็บไซต์ของสมาคมดาราศาสตร์ตั้งขึ้นมาเป็นหมวดโลกแตก 2012 เลยแหละ แล้วตกลงโลกมันแตกจริงหรือเปล่านะติดตามได้ที่ หมวดโลกแตก 2012 จะได้รู้กันไปว่าโลกจะแตกจริงไหมจากข้อมูลของนักดาราศาสตร์

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เปิด Google เหมือนซื้อดาวเทียม Hubble ไว้ดูดาว

    ดาราศาสตร์ในสมัยก่อนก็คงจะเป็นเรื่องที่ไกลตัวไปสักหน่อยสำหรับคนงบน้อย เพราะจะดูดาวได้ดีก็ต้องใช้กล้องดูดาวซึ่งก็แพงใช้เล่นเลย จะไปท้องฟ้าจำลองแอร์เย็นสบายหลับเลยสะอย่างนั้น แล้วถ้าไปดูกันจริงๆก็รอกลางคืน แถมจะดูสวยก็ต้องขึ้นเขาอีก เสียเวลากับค่าเดินทางพอสมควร แต่ตอนนี้(นานแล้ว)อากู๋กูเกิลใจดีของเราได้นำเอาภาพบนท้องฟ้าที่ถ่ายจากดาวเทียมต่างๆ มาเรียงต่อกันแล้วเผยแพร่ให้พวกเราได้ดูกันเหมือนซื้อ Hubble ไว้นั่งส่องดาวเล่นกันเชียวแหละ

ดวงจันทร์บังดาว 51 คนแบกงู : 16 มิถุนายน 2554


          ขณะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาในเช้ามืดวันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2554 ดวงจันทร์จะบังดาวฤกษ์หลายดวง ดวงที่สว่างที่สุดและเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีชื่อว่า "51 คนแบกงู" (51 Ophiuchi) หมายถึงดาวดวงที่ 51 ในกลุ่มดาวคนแบกงู ตามระบบการเรียกชื่อดาวแฟลมสตีด (Flamsteed)

ไม่ต้องมีดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ก็มีสิ่งมีชีวิตได้


          สิ่งมีชีวิตบนโลก และกลไกลทางชีววิทยาทั้งมวลบนโลก ล้วนขับเคลื่อนได้ด้วยพลังงานจากดวงอาทิตย์ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ดวงอาทิตย์จึงเปรียบเสมือนมารดาของสรรพชีวิตบนโลก หากจะมีดาวเคราะห์ดวงใดดวงหนึ่งในระบบสุริยะอื่นจะมีสิ่งมีชีวิตบ้าง ก็จะต้องอยู่ในเงื่อนไขเดียวกับโลก นั่นคือจะต้องรับพลังงานจากดาวฤกษ์ที่ตนเป็นบริวารอยู่  แต่การศึกษาใหม่โดยนักเอกภพวิทยาจากมหาวิทยาลัยชิคาโกพบว่า ดาวเคราะห์คล้ายโลกก็อาจมี อุณหภูมิสูงพอจะเอื้ออาศัยได้โดยไม่ต้องมีดาวฤกษ์ โดยมีแหล่งความร้อนจากการสลายของธาตุกัมมันตรังสีภายในดาวเคราะห์เอง และมีชั้นน้ำแข็งห่อหุ้มเป็นฉนวน

พบดาวเคราะห์อิสระ ไม่โคจรรอบดาวฤกษ์

            
         นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์คล้ายดาวพฤหัสบดีประเภทใหม่ลอยเคว้งคว้างอยู่ในอวกาศโดยไม่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงใด เชื่อว่าดาวเคราะห์ประเภทนี้อาจมีมากกว่าดาวฤกษ์ถึงสองเท่า
"แม้ว่าดาวเคราะห์อิสระเป็นสิ่งที่นักดาราศาสตร์คาดคิดมานานแล้วว่ามีอยู่จริง แต่นี่เป็นครั้งแรกที่พวกเขาค้นพบมันจริง ๆ" มาริโอ เปเรซ นักวิทยาศาสตร์จากสำนักงานใหญ่นาซากล่าว "นี่ส่งผลต่อแบบจำลองการกำเนิดดาวเคราะห์เป็นอย่างมาก"

จันทรุปราคาเต็มดวง : 16 มิถุนายน 2554

            นานเกือบ 4 ปีมาแล้ว ที่ประเทศไทยไม่มีโอกาสได้เห็นจันทรุปราคาเต็มดวง ปีนี้เกิดจันทรุปราคาเต็มดวงขึ้น 2 ครั้ง ทั้งคู่สามารถเห็นได้ในประเทศไทย โดยครั้งแรกเกิดขึ้นในเวลากลางดึกของคืนวันพุธที่ 15 มิถุนายน 2554 (เข้าสู่เช้ามืดวันที่ 16 มิถุนายน) ครั้งที่ 2 ในคืนวันที่ 10 ธันวาคม 2554

แบบฝึกหัดดาราศาสตร์บทที่ 4

แบบฝึกหัดดาราศาสตร์บทที่ 4

แบบฝึกหัดดาราศาสตร์บทที่ 3

แบบฝึกหัดดาราศาสตร์บทที่ 3

แบบฝึกหัดดาราศาสตร์บทที่ 2

แบบฝึกหัดดาราศาสตร์บทที่ 2

แบบฝึกหัดดาราศาสตร์บทที่ 1

แบบฝึกหัดดาราศาสตร์บทที่ 1