สิ่งมีชีวิตบนโลก
และกลไกลทางชีววิทยาทั้งมวลบนโลก
ล้วนขับเคลื่อนได้ด้วยพลังงานจากดวงอาทิตย์
ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
ดวงอาทิตย์จึงเปรียบเสมือนมารดาของสรรพชีวิตบนโลก
หากจะมีดาวเคราะห์ดวงใดดวงหนึ่งในระบบสุริยะอื่นจะมีสิ่งมีชีวิตบ้าง
ก็จะต้องอยู่ในเงื่อนไขเดียวกับโลก
นั่นคือจะต้องรับพลังงานจากดาวฤกษ์ที่ตนเป็นบริวารอยู่ แต่การศึกษาใหม่โดยนักเอกภพวิทยาจากมหาวิทยาลัยชิคาโกพบว่า
ดาวเคราะห์คล้ายโลกก็อาจมี อุณหภูมิสูงพอจะเอื้ออาศัยได้โดยไม่ต้องมีดาวฤกษ์
โดยมีแหล่งความร้อนจากการสลายของธาตุกัมมันตรังสีภายในดาวเคราะห์เอง
และมีชั้นน้ำแข็งห่อหุ้มเป็นฉนวน
ต้นกำเนิดของงานวิจัยนี้มาจากความขี้สงสัยของนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมคนหนึ่งที่เกิดสงสัยว่า
โลกจะเป็นอย่างไรหากไม่มีดวงอาทิตย์
แนวคิดนี้กระตุ้นให้สหาย
เอริก
สวิตเซอร์
ซึ่งเป็นนักเอกภพวิทยา
เริ่มงานวิจัยเพื่อไขปัญหานี้
ผลการคำนวณของสวิตเซอร์เผยว่า
หากไม่มีพลังงานจากดาวฤกษ์แล้ว
ดาวเคราะห์แบบโลกจะต้องมีแผ่นน้ำแข็งหนา
15
กิโลเมตรปกคลุมอยู่เพื่อทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนที่เกิดจากการสลายของธาตุกัมมันตรังสีภายในดาวเคราะห์
เช่น
โพแทสเซียม-40
ยูเรเนียม-238
และ
ทอเรียม-232
รวมถึงพลังงานดั้งเดิมที่ตกค้างมาจากการสร้างดาวเคราะห์ด้วย หรือหากน้ำแข็งหนาไม่ถึง
15
กิโลเมตร
ก็ยังปกป้องความร้อนจากภายในได้
หากมีชั้นบรรยากาศเยือกแข็งเช่นน้ำแข็งแห้ง
ซึ่งก็คือคาร์บอนไดออกไซค์เยือกแข็ง
ปกคลุมอีกชั้นหนึ่ง ดาวเคราะห์ที่มีลักษณะเช่นนี้
จะอุ่นพอที่จะให้มีสิ่งมีชีวิตวิวัฒน์และดำรงอยู่ได้ "โลกเราก็อาจมีลักษณะแบบนั้นได้หลังจากที่ดวงอาทิตย์ดับไปแล้วประมาณ
10,000
ล้านปี
ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นน้ำในมหาสมุทรจะเย็นจนกลายเป็นน้ำแข็งทั้งหมด"
โดเรียน
แอบบอต
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชิคาโกกล่าว สวิตเซอร์ไม่ได้คาดไปถึงว่า
สิ่งมีชีวิตในดาวเคราะห์ที่ไม่มีดาวฤกษ์จะมีลักษณะเช่นใด
แต่ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีกับดาวเสาร์ที่เต็มไปด้วยน้ำแข็งปกคลุมอาจให้แนวคำตอบนี้ได้
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าดวงจันทร์ยูโรปาและคัลลิสโตของดาวพฤหัสบดีและเอนเซลาดัสของดาวเสาร์มีชั้นของมหาสมุทรใต้พิภพที่เป็นของเหลวอยู่
มีแหล่งพลังงาน
มีน้ำ
และมีสภาพเคมีอย่างที่ชีวิตต้องการ ความคิดว่าอาจมีดาวเคราะห์บางดวงที่พเนจรอย่างอิสระไม่โคจรรอบดาวฤกษ์ไม่ใช่ความคิดที่เพ้อเจ้อเสียทีเดียว
นักดาราศาสตร์ได้คำนวณว่าการรบกวนกันเองระหว่างดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
หรือการรบกวนจากดาวฤกษ์ที่ผ่านเข้ามาใกล้
อาจทำเกิดแรงเหวี่ยงให้ดาวเคราะห์หลุดกระเด็นออกจากระบบสุริยะได้ จากแบบจำลองการกำเนิดระบบดาวเคราะห์แสดงว่ามีโอกาสเกิดดาวเคราะห์ประเภทนี้อยู่มากมาย
โดยเฉลี่ยแล้วอาจมี
1-2
ดวงต่อระบบสุริยะ แม้แต่ระบบสุริยะของเราเอง
ก็อาจเคยเกิดเหตุการณ์นี้มาก่อน
โลกเราอาจเคยมีดาวเคราะห์พี่น้องร่วมครอบครัวที่ลักษณะใกล้เคียงกันแต่ได้หลุดออกจากระบบไปนานแล้ว
เพียงแต่ทฤษฎีนี้ยังขาดหลักฐานยืนยันเท่านั้นเอง
ที่มา
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย ()