แบบฝึกหัดดาราศาสตร์บทที่ 1
1. หินต้นกำเนิดแมกมาส่วนใหญ่อยู่บริเวณชั้นเนื้อโลกตอนบนให้นักเรียนบอกประเภท และส่วนประกอบของหินกำเนิดแมกมา
ตอบ - หินหนืดบะซอลต์ ประกอบด้วย ซิลิก้าออกไซด์ (SiO2) ร้อยละ 45 - 55 อัลคาไลทั้งหมดร้อยละ
2 - 6 ไททาเนียม ออกไซด์ (TiO2) ร้อยละ 0.5 - 2.0 เหล็กออกไซด์ (FeO) ร้อยละ 5 - 14
และอะลูมินา (Al2O3) ร้อยละ 14 หรือมากกว่า แคลเซียมออกไซด์ (CaO) เกือบร้อยละ 10
และแมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) อยู่ระหว่างร้อยละ 5 - 12 โดยน้ำหนัก
- หินหนืดแกรนิต ประกอบด้วย ซิลิก้าออกไซด์ (SiO2) ร้อยละ 72.04 อะลูมินา (Al2O3) ร้อยละ
14.42 แคลเซียมออกไซด์ (CaO) ร้อยละ 1.82 เหล็กออกไซด์ (FeO) ร้อยละ 1.68
แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) ร้อยละ 0.71 แทลเลียมออกไซต์ (TiO2) ร้อยละ 0.30
แมงกานีสออกไซต์ (MnO) ร้อยละ 0.05 โพแทสเซียมออกไซต์ (K2O) ร้อยละ 4.12
โซเดียมออกไซต์ (Na2O) ร้อยละ 3.69 เหล็กออกไซด์ (Fe2O3)ร้อยละ 1.22
และไดฟอสฟอรัสเตตระออกไซต์ ร้อยละ 0.12 โดยน้ำหนัก
- หินหนืดไดออไรด์ ประกอบด้วย หินแกรนิต และหินบะซอลต์
2. คลื่น P และ S มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ 1. คลื่น P มีความเร็วมากกว่าคลื่น S
2. คลื่น P สามารถผ่านตัวกลางที่เป็นของเหลวได้ แต่คลื่น S ไม่สามารถผ่านตัวกลางที่เป็นของ
เหลวได้
3. เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง จะเกิดเขตอับคลื่น S ที่ครอบคลุมผิวโลกบริเวณกว้าง
นักเรียนจะอธิบายปรากฏกาณ์นี้อย่างไร
ตอบ คลื่น S เป็นคลื่นที่ไม่สามารถผ่านตัวกลางที่เป็นของเหลวได้ ทำให้ไม่สามารถผ่านแก่นโลก
ชั้นนอกที่เป็นของเหลวได้จึงทำให้เกิดเขตอับคลื่น
4. ให้นักเรียนทำแผนผังสรุปโครงสร้างต่อไปนี้ โดยเติมลงในช่องว่างให้สมบูรณ์